หน่วยติดตามและประเมินวัดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (EC Measuring and Monitoring Unit)
การติดตามและประเมินวัดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ เป็นงานในอีกสาขาหนึ่งที่ ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ความสำคัญ โครงการหลักที่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายในปี 2546 ได้แก่โครงการสำรวจวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1.โครงการสำรวจวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นงานที่ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทำขึ้นเป็นประจำทุกปีและให้ความสำคัญอยู่ในลำดับต้นๆเสมอ สำหรับโครงการสำคัญในปี 2546 ได้แก่ โครงการสำรวจมูลค่าตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ โครงการสำรวจผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และ โครงการสำรวจอัตราการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
2.โครงการประสานงานในบทบาทของ ASEAN e-Measurement Working Group ครงการสำรวจวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จากการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ The ASEAN Workshop on the Measurement of Digital Economy เมื่อวันที่ 19-20 กันยายน ปี 2545 ที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้จัดทำ ร่างกรอบวิธีปฏิบัติสำหรับการประเมินวัดในยุคดิจิทัลของอาเซียน (Draft Recommendation for ASEAN e-Measurement Framework)ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบการทำงานการเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติของอาเซียนเพื่อให้ทุกประเทศมีแนวทางการทำงานที่สอดคล้องและอยู่บนมาตรฐานเดียวกัน และต่อมา ในการประชุมคณะทำงานอี-อาเซียน ครั้งที่ 12 ที่จัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 17-18 ตุลาคม 2545 ร่างกรอบปฏิบัติดังกล่าว ได้รับการอนุมัติเห็นชอบให้นำไปดำเนินการได้ โดยมีประเทศสิงคโปร์และประเทศไทยเป็นผู้นำโครงการในขณะนี้ (มกราคม 2546) โครงการอยู่ในระหว่างการจัดตั้ง ASEAN e-Measurement Working Group ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทน 3 คน จากสำนักงานสถิติแห่งชาติหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับไอซีทีและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของแต่ละประเทศสมาชิก สำหรับประเทศไทย ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เสนอตัวแทนจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ และเนคเทคเข้าร่วม หลังจากก่อตั้งคณะทำงาน เรียบร้อยแล้ว จึงเริ่มดำเนินการ ขั้นตอนแรกคือการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินวัดด้านไอซีทีและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่แต่ละ ประเทศทำมาในอดีตหรือกำลังทำอยู่ปัจจุบัน หลังจากนั้นจึงกำหนดมาตรฐานคำนิยามและวิธีการ ประเมินวัดที่เหมาะสมสำหรับอาเซียน ระยะเวลาการทำงานของโครงการนี้ประมาณ 1 ปี
3.โครงการจัดตั้ง National e-Measurement Working Group
เป็นโครงการที่สืบเนื่องมาจากโครงการที่ 2 เพื่อที่จะมีข้อมูลนำไปพัฒนาการประเมินวัดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับภูมิภาคอาเซียน เป็นสิ่งจำเป็นที่ประเทศไทยต้องมีการพัฒนาการประเมินวัดภายในประเทศควบคู่ไปด้วย วัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้คือ สร้างความตื่นตัวในเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติที่เกี่ยวกับไอซีทีและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้แก่หน่วยงานราชการอื่นๆ และร่วม กำหนดแนวทางการพัฒนาการประเมินวัดในประเทศ ผลที่ได้ย่อมทำข้อมูลด้านสถิติของไอซีทีในประเทศมีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ถูกต้องแม่นยำ และเชื่อถือได้ ขณะนี้โครงการดังกล่าวอยู่ในระหว่างเตรียมการ ซึ่งคาดว่ารูปแบบการทำงานจะไม่แตกต่างจากคณะทำงานของ ASEAN e-Measurement Working Group มากนัก และจะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน อาทิ สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒฯ) และ เนคเทค
4.โครงการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาการประเมินวัดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และไอซีทีในประเทศ
ในปี 2545 ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้ริเริ่มสายสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานระหว่างประเทศหลายๆหน่วย อาทิ OECD (Organization for Economic co-operation Development), UNESCAP, และ UNCTAD เพื่อหาแนวทางการสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาการประเมินวัดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศและภูมิภาค ซึ่งคาดว่าโครงการ จากความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆเหล่านี้จะมีมากขึ้นและส่งผลชัดเจนมากขึ้นในปี 2546
5.โครงการจัดทำสื่อเผยแพร่ให้ความรู้ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
นอกจากรายงานการประชุม (Proceedings) ของ Workshop 2 รายการที่ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จัดทำขึ้นในเดือน มกราคม 2546 ตลอดปีนี้ ศูนย์ฯคาดว่าจะจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อีก 2 เล่ม ได้แก่ หนังสือรวบรวมคำถาม-คำตอบยอดฮิตพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และ หนังสือรวบรวมกรณีศึกษาของธุรกิจไทยที่ประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งจะนำข้อมูลมาจากการสำรวจวิจัยของศูนย์ฯ
6.โครงการประสานความร่วมมือกับ สำนักงานสถิติแห่งชาติและกองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจ-การค้า ในการจัดทำ “ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกละเอียดครบถ้วน ทำให้ไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วจำนวนเว็บไซต์ส์
ในปัจจุบันนี้ เว็บไซต์ที่เป็นของธุรกิจไทยมีอยู่เป็นจำนวน มากจนกระทั่งยังไม่มีหน่วยงานใดจัดเก็บข้อมูลต่างๆเหล่านี้อย่างของธุรกิจไทย ณ ปัจจุบันนี้เป็นเท่าใด ด้วยเหตุนี้ กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จึงจัดทำโครงการ “ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” ขึ้น เพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง รวมถึงรายชื่อเว็บไซต์ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการอ้างอิง และ ขยายผลสู่การจัดทำโครงการอื่นต่อไปในอนาคต เช่น การกำหนด Trustmark เป็นต้น ในโครงการนี้บทบาทของศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อยู่ที่การให้คำแนะนำในเรื่องของคำนิยามธุรกิจที่ประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และขอบเขตของข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ
2.โครงการประสานงานในบทบาทของ ASEAN e-Measurement Working Group ครงการสำรวจวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จากการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ The ASEAN Workshop on the Measurement of Digital Economy เมื่อวันที่ 19-20 กันยายน ปี 2545 ที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้จัดทำ ร่างกรอบวิธีปฏิบัติสำหรับการประเมินวัดในยุคดิจิทัลของอาเซียน (Draft Recommendation for ASEAN e-Measurement Framework)ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบการทำงานการเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติของอาเซียนเพื่อให้ทุกประเทศมีแนวทางการทำงานที่สอดคล้องและอยู่บนมาตรฐานเดียวกัน และต่อมา ในการประชุมคณะทำงานอี-อาเซียน ครั้งที่ 12 ที่จัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 17-18 ตุลาคม 2545 ร่างกรอบปฏิบัติดังกล่าว ได้รับการอนุมัติเห็นชอบให้นำไปดำเนินการได้ โดยมีประเทศสิงคโปร์และประเทศไทยเป็นผู้นำโครงการในขณะนี้ (มกราคม 2546) โครงการอยู่ในระหว่างการจัดตั้ง ASEAN e-Measurement Working Group ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทน 3 คน จากสำนักงานสถิติแห่งชาติหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับไอซีทีและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของแต่ละประเทศสมาชิก สำหรับประเทศไทย ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เสนอตัวแทนจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ และเนคเทคเข้าร่วม หลังจากก่อตั้งคณะทำงาน เรียบร้อยแล้ว จึงเริ่มดำเนินการ ขั้นตอนแรกคือการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินวัดด้านไอซีทีและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่แต่ละ ประเทศทำมาในอดีตหรือกำลังทำอยู่ปัจจุบัน หลังจากนั้นจึงกำหนดมาตรฐานคำนิยามและวิธีการ ประเมินวัดที่เหมาะสมสำหรับอาเซียน ระยะเวลาการทำงานของโครงการนี้ประมาณ 1 ปี
3.โครงการจัดตั้ง National e-Measurement Working Group
เป็นโครงการที่สืบเนื่องมาจากโครงการที่ 2 เพื่อที่จะมีข้อมูลนำไปพัฒนาการประเมินวัดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับภูมิภาคอาเซียน เป็นสิ่งจำเป็นที่ประเทศไทยต้องมีการพัฒนาการประเมินวัดภายในประเทศควบคู่ไปด้วย วัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้คือ สร้างความตื่นตัวในเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติที่เกี่ยวกับไอซีทีและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้แก่หน่วยงานราชการอื่นๆ และร่วม กำหนดแนวทางการพัฒนาการประเมินวัดในประเทศ ผลที่ได้ย่อมทำข้อมูลด้านสถิติของไอซีทีในประเทศมีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ถูกต้องแม่นยำ และเชื่อถือได้ ขณะนี้โครงการดังกล่าวอยู่ในระหว่างเตรียมการ ซึ่งคาดว่ารูปแบบการทำงานจะไม่แตกต่างจากคณะทำงานของ ASEAN e-Measurement Working Group มากนัก และจะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน อาทิ สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒฯ) และ เนคเทค
4.โครงการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาการประเมินวัดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และไอซีทีในประเทศ
ในปี 2545 ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้ริเริ่มสายสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานระหว่างประเทศหลายๆหน่วย อาทิ OECD (Organization for Economic co-operation Development), UNESCAP, และ UNCTAD เพื่อหาแนวทางการสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาการประเมินวัดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศและภูมิภาค ซึ่งคาดว่าโครงการ จากความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆเหล่านี้จะมีมากขึ้นและส่งผลชัดเจนมากขึ้นในปี 2546
5.โครงการจัดทำสื่อเผยแพร่ให้ความรู้ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
นอกจากรายงานการประชุม (Proceedings) ของ Workshop 2 รายการที่ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จัดทำขึ้นในเดือน มกราคม 2546 ตลอดปีนี้ ศูนย์ฯคาดว่าจะจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อีก 2 เล่ม ได้แก่ หนังสือรวบรวมคำถาม-คำตอบยอดฮิตพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และ หนังสือรวบรวมกรณีศึกษาของธุรกิจไทยที่ประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งจะนำข้อมูลมาจากการสำรวจวิจัยของศูนย์ฯ
6.โครงการประสานความร่วมมือกับ สำนักงานสถิติแห่งชาติและกองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจ-การค้า ในการจัดทำ “ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกละเอียดครบถ้วน ทำให้ไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วจำนวนเว็บไซต์ส์
ในปัจจุบันนี้ เว็บไซต์ที่เป็นของธุรกิจไทยมีอยู่เป็นจำนวน มากจนกระทั่งยังไม่มีหน่วยงานใดจัดเก็บข้อมูลต่างๆเหล่านี้อย่างของธุรกิจไทย ณ ปัจจุบันนี้เป็นเท่าใด ด้วยเหตุนี้ กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จึงจัดทำโครงการ “ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” ขึ้น เพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง รวมถึงรายชื่อเว็บไซต์ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการอ้างอิง และ ขยายผลสู่การจัดทำโครงการอื่นต่อไปในอนาคต เช่น การกำหนด Trustmark เป็นต้น ในโครงการนี้บทบาทของศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อยู่ที่การให้คำแนะนำในเรื่องของคำนิยามธุรกิจที่ประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และขอบเขตของข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ
No comments:
Post a Comment