Friday, January 5, 2007

ประเภทของ E-Commerce










1.. การทำการค้าระหว่าง Customer








(ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) กับ Business (ผู้ทำการค้า) เช่น ลูกค้าต้องการซื้อหนังสือกับร้านค้า










2. การทำการค้าระหว่าง Business





(ผู้ทำการค้า) กับ Business ( ผู้ทำการค้า) เช่น ร้านขายหนังสือค้าต้องการสั่งซื้อหนังสือจากโรงพิมพ์








3. การทำการค้าระหว่าง Business




( ผู้ทำการค้า) กับ Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) เช่น โรงพิมพ์ต้องการซื้อต้นฉบับจากผู้เขียน







4. การทำการค้าระหว่าง Customer



(ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) กับ Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) ด้วยกันเช่น ผู้บริโภคต้องการขายรถยนต์ของต้นเองให้กับผู้บริโภคท่านที่สนใจ











ความสัมพันธ์ของระบบการค้าอิเล็กทรอนิค E-Commerce

การดำเนินการธุระกิจการค้าบนอินเทอร์เนตหรือ E-Commerce จำเป็นจะต้องมีความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีการประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบการค้าบนอินเทอร์เนตหรือ E-Commerce มีดังนี้








CUSTOMER


ลูกค้าสามารถชำระค่าสินค้า และ/หรือบริการได้ด้วยท บัตรเครดิตท บัตรเครดิตวีซ่า หรือมาสเตอร์การ์ดจากทุกสถาบันการเงินทั่วโลกท ระบบหักบัญชีเงินฝากของธนาคาร (Direct Debit)

MERCHANT


ร้านค้าที่ต้องการขายสินค้าและ/หรือบริการผ่านระบบ Internet โดยเปิด Home Page บนSite ของตนเอง หรือ ฝาก Home Pageไว้กับ Web Site หรือ Virtual Mall ต่าง ๆ เพื่อขายสินค้าและหรือบริการผ่านระบบของธนาคาร ร้านค้าจะต้องเปิดบัญชีและสมัครเป็นร้านค้าสมาชิก E-Commerceกับธนาคารก่อน


ISP INTERNET SERVICE PROVIDER

องค์กรผู้ให้บริการเชื่อมต่อระบบการสื่อสารทาง Internet ให้กับลูกค้า ซึ่งอาจเป็นร้านค้าหรือผู้ใช้ Internet ทั่วไป โดย ISP รับและจดทะเบียน Domain หรือ จะจัดตั้ง Virtual Mall เพื่อให้ร้านค้านำ Home Pageมาฝากเพื่อขายสินค้า


BANK

ทำหน้าที่เป็น Payment Gateway คือตรวจสอบ และอนุมัติวงเงินของผู้ถือบัตร เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้า และ/หรือบริการ ทาง Internetผ่านระบบของธนาคาร และธนาคารจะโอนเงินค่าสินค้า และหรือบริการนั้น ๆ เข้าบัญชีของร้านค้า สมาชิก


TRANSACTION PROCESSING SERVICE PROVIDER

องค์กรผู้บริหาร และพัฒนาโปรแกรม การประมวลผลการชำระค่าสินค้า และ/หรือบริการ ผ่าน Internet ให้กับร้านค้า หรือ ISPต่าง ๆ ผ่าน Gateway โดย TPSPสามารถต่อเชื่อมระบบให้กับทุก ๆ ร้านค้าหรือทุก ๆ ISP และทำการ Internetระบบชำระเงินผ่าน Gateway ของธนาคาร




ขั้นตอนการเปิดร้านเพื่อดำเนินการค้า E-Commerce




ระบบความปลอดภัย

1. Encryption เป็นการเข้ารหัสและถอดรหัสระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำกิจกรรมซื้อขายในเครือข่ายอินเทเอร์เนต หรือระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ เป็นระบบนี้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปบนอินเทอร์เนต
2.Authentication เป็นระบบตรวจสอบ ซึ่งจะตรวจสอบว่าเป็นผู้ได้รับอนุญาตตัวจริงให้เข้าถึงระบบและบริการในชั้นที่กำหนดให้โดยให้แจ้งข้อมูล Password ของผู้ได้รับอนุญาต
3.Firewalls เป็นระบบที่ทำงานร่วมกันระหว่าง Hard และ Software โดย Firewallsจะวางอยู่ระหว่าง เครือข่ายภายในองค์กร (Local Network)และ เครือข่ายภายนอก (Internet) เพื่อป้องกันการบุกรุกจากจากบุคคลภายนอกที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาขโมยข้อมูลหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล (Hacker)โดยผ่านทางเครือข่ายภายนอก (Internet)
4.PKI System (Public Infrastructure) เป็นกลุ่มข้อ Security Servicesซึ่งปกติจัดให้โดย Certificate (CA), Authentication, Encryption และ Certificate Managementใช้เทคโนโลยีการเข้าและถอดรหัสโดยกุณแจสาธารณะ

Thursday, January 4, 2007

หน่วยติดตามและประเมินวัดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (EC Measuring and Monitoring Unit)


หน่วยติดตามและประเมินวัดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (EC Measuring and Monitoring Unit)

การติดตามและประเมินวัดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ เป็นงานในอีกสาขาหนึ่งที่ ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ความสำคัญ โครงการหลักที่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายในปี 2546 ได้แก่โครงการสำรวจวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1.โครงการสำรวจวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นงานที่ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทำขึ้นเป็นประจำทุกปีและให้ความสำคัญอยู่ในลำดับต้นๆเสมอ สำหรับโครงการสำคัญในปี 2546 ได้แก่ โครงการสำรวจมูลค่าตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ โครงการสำรวจผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และ โครงการสำรวจอัตราการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
2.โครงการประสานงานในบทบาทของ ASEAN e-Measurement Working Group ครงการสำรวจวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จากการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ The ASEAN Workshop on the Measurement of Digital Economy เมื่อวันที่ 19-20 กันยายน ปี 2545 ที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้จัดทำ ร่างกรอบวิธีปฏิบัติสำหรับการประเมินวัดในยุคดิจิทัลของอาเซียน (Draft Recommendation for ASEAN e-Measurement Framework)ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบการทำงานการเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติของอาเซียนเพื่อให้ทุกประเทศมีแนวทางการทำงานที่สอดคล้องและอยู่บนมาตรฐานเดียวกัน และต่อมา ในการประชุมคณะทำงานอี-อาเซียน ครั้งที่ 12 ที่จัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 17-18 ตุลาคม 2545 ร่างกรอบปฏิบัติดังกล่าว ได้รับการอนุมัติเห็นชอบให้นำไปดำเนินการได้ โดยมีประเทศสิงคโปร์และประเทศไทยเป็นผู้นำโครงการในขณะนี้ (มกราคม 2546) โครงการอยู่ในระหว่างการจัดตั้ง ASEAN e-Measurement Working Group ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทน 3 คน จากสำนักงานสถิติแห่งชาติหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับไอซีทีและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของแต่ละประเทศสมาชิก สำหรับประเทศไทย ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เสนอตัวแทนจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ และเนคเทคเข้าร่วม หลังจากก่อตั้งคณะทำงาน เรียบร้อยแล้ว จึงเริ่มดำเนินการ ขั้นตอนแรกคือการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินวัดด้านไอซีทีและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่แต่ละ ประเทศทำมาในอดีตหรือกำลังทำอยู่ปัจจุบัน หลังจากนั้นจึงกำหนดมาตรฐานคำนิยามและวิธีการ ประเมินวัดที่เหมาะสมสำหรับอาเซียน ระยะเวลาการทำงานของโครงการนี้ประมาณ 1 ปี
3.โครงการจัดตั้ง National e-Measurement Working Group
เป็นโครงการที่สืบเนื่องมาจากโครงการที่ 2 เพื่อที่จะมีข้อมูลนำไปพัฒนาการประเมินวัดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับภูมิภาคอาเซียน เป็นสิ่งจำเป็นที่ประเทศไทยต้องมีการพัฒนาการประเมินวัดภายในประเทศควบคู่ไปด้วย วัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้คือ สร้างความตื่นตัวในเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติที่เกี่ยวกับไอซีทีและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้แก่หน่วยงานราชการอื่นๆ และร่วม กำหนดแนวทางการพัฒนาการประเมินวัดในประเทศ ผลที่ได้ย่อมทำข้อมูลด้านสถิติของไอซีทีในประเทศมีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ถูกต้องแม่นยำ และเชื่อถือได้ ขณะนี้โครงการดังกล่าวอยู่ในระหว่างเตรียมการ ซึ่งคาดว่ารูปแบบการทำงานจะไม่แตกต่างจากคณะทำงานของ ASEAN e-Measurement Working Group มากนัก และจะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน อาทิ สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒฯ) และ เนคเทค
4.โครงการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาการประเมินวัดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และไอซีทีในประเทศ
ในปี 2545 ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้ริเริ่มสายสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานระหว่างประเทศหลายๆหน่วย อาทิ OECD (Organization for Economic co-operation Development), UNESCAP, และ UNCTAD เพื่อหาแนวทางการสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาการประเมินวัดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศและภูมิภาค ซึ่งคาดว่าโครงการ จากความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆเหล่านี้จะมีมากขึ้นและส่งผลชัดเจนมากขึ้นในปี 2546
5.โครงการจัดทำสื่อเผยแพร่ให้ความรู้ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
นอกจากรายงานการประชุม (Proceedings) ของ Workshop 2 รายการที่ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จัดทำขึ้นในเดือน มกราคม 2546 ตลอดปีนี้ ศูนย์ฯคาดว่าจะจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อีก 2 เล่ม ได้แก่ หนังสือรวบรวมคำถาม-คำตอบยอดฮิตพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และ หนังสือรวบรวมกรณีศึกษาของธุรกิจไทยที่ประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งจะนำข้อมูลมาจากการสำรวจวิจัยของศูนย์ฯ
6.โครงการประสานความร่วมมือกับ สำนักงานสถิติแห่งชาติและกองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจ-การค้า ในการจัดทำ “ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกละเอียดครบถ้วน ทำให้ไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วจำนวนเว็บไซต์ส์
ในปัจจุบันนี้ เว็บไซต์ที่เป็นของธุรกิจไทยมีอยู่เป็นจำนวน มากจนกระทั่งยังไม่มีหน่วยงานใดจัดเก็บข้อมูลต่างๆเหล่านี้อย่างของธุรกิจไทย ณ ปัจจุบันนี้เป็นเท่าใด ด้วยเหตุนี้ กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จึงจัดทำโครงการ “ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” ขึ้น เพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง รวมถึงรายชื่อเว็บไซต์ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการอ้างอิง และ ขยายผลสู่การจัดทำโครงการอื่นต่อไปในอนาคต เช่น การกำหนด Trustmark เป็นต้น ในโครงการนี้บทบาทของศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อยู่ที่การให้คำแนะนำในเรื่องของคำนิยามธุรกิจที่ประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และขอบเขตของข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ

บทบาทภาครัฐกับ E-Commerce

เนื่องจากการทำธุรกิจดังกล่าวมีการแข่งขันกันร้อนแรง ส่วนใหญ่อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นไปได้ที่คู่ค้าอาจไม่เคยรู้จักติดต่อกันมาก่อน ปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากภาครัฐได้แก่ แผนกลยุทธ์การค้าอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ เพื่อมิให้เสียเปรียบเชิงการค้าในระดับโลก โครงสร้างการสื่อสารที่ดีและเพียงพอ กฎหมายรองรับข้อมูลและหลักฐานการค้าที่ไม่อยู่ในรูปเอกสาร ระบบความปลอดภัยข้อมูลบนเครือข่ายและระบบการชำระเงิน E-Government เป็นอีกมิติหนึ่งของการให้บริการภาครัฐออนไลน์ที่จะเอื้อให้ธุรกิจ ประชาชน ติดต่อใช้บริการ ในกรอบบริการงานแต่ละด้านของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยให้บริการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์แก่สถาบันการเงิน กรมทะเบียนการค้าให้บริการจดทะเบียนการค้า เป็นต้น นอกจากนี้ การทำ E-Procurement เพื่อการจัดซื้อจัดหาภาครัฐก็เป็นบริการที่ควรดำเนินการ เพราะจะช่วยให้เกิดความโปร่งใส และเป็นไปตามกรอบนโยบายของที่ประชุมเอเปคด้วย

ความปลอดภัยกับ E-Commerce

ระบบความปลอดภัยนับเป็นเรื่องที่โดดเด่นที่สุด และมีเทคโนโลยีความปลอดภัยคือ Public Key ซึ่งมีองค์กรรับรองความถูกต้องเรียกว่า CA (Certification Authority) ระบบนี้ใช้หลักคณิตศาสตร์คำนวณรหัสคุมข้อความจากผู้ส่งและผู้รับอย่างเฉพาะเจาะจงได้ จึงสามารถพิสูจน์ตัวตนของผู้รับผู้ส่ง (Authentication) รักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Confidentiality) ความถูกต้องไม่คลาดเคลื่อนของข้อมูล (Integrity) และผู้ส่งปฏิเสธความเป็นเจ้าของข้อมูลไม่ได้ (Non-repudiation) เรียกว่าลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature) ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการมีกฎหมายรองรับการทำธุรกรรมบนเครือข่าย ประเทศในยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายรองรับการทำธุรกิจดังกล่าว สำหรับในประเทศไทยก็เร่งจัดการออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ฉบับ โดยกฎหมาย 2 ฉบับแรกที่จะออกใช้ได้ก่อนคือ กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

การแบ่งประเภทสินค้า(Categories)
สำหรับแพคเกจ ecommerce นั้นสามารถเลือกลักษณะของการแบ่งประเภทสินค้าได้เอง ซึ่งมีให้เลือกถึง 6 รูปแบบ กล่าวคือการแสดงรูปแบบสินค้าของแต่ละประเภท สามารถที่จะเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะสินค้าของท่านได้
รายละเอียดของสินค้า(Products)รายละเอียดสินค้า สามารถเลือกแสดงได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งขนาด น้ำหนัก ราคา ค่าขนส่ง และรายละเอียดสินค้า ท่านสามารถแก้ไขรายละเอียดต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา เพื่อเพิ่มความสะดวกในการปรับปรุงราคา หรือรายละเอียดต่าง ๆ ให้สินค้าของท่านได้อย่างง่ายดาย และสามารถเลือกให้สินค้าแต่ละอันนั้น อยู่ในกลุ่มประเภทสินค้า(Categories) ได้มากกว่า 1 ประเภท เช่น แจกันไม้ อาจอยู่ทั้งในประเภทสินค้าที่ทำจากไม้ และสินประเภทสินค้าตกแต่งบ้าน ได้ทั้ง 2 ประเภท ซึ่งจะเพิ่มความสะดวกในการเลือกซื้อสินค้าของท่าน ผ่านทางหน้าเว็บเพจให้กับลูกค้า

ตระกร้าสินค้า(Shopping Cart)
ท่านสามารถเลือกการชำระเงินเป็นสกุลเงินแบบต่าง ๆ ที่จะใช้ในหน้าเว็บเพจของท่านได้เอง และยังรองรับการทำงานของระบบ 2 ภาษาไว้ด้วย

ค่าขนส่ง (Shipping Cost)
นอกจากนี้ยังสามารถที่จะเลือกค่าขนส่ง (Shipping Cost) โดยแบ่งออกเป็น Zone ต่าง ๆ ตามลักษณะการบริการของบริษัทที่รับขนส่งสินค้าทั่วไป เพื่อเพิ่มความสะดวกในการคำนวณค่าใช้จ่าย และการบริการขนส่งสินค้าให้กับสินค้าของท่านอีกด้วย

การชำระค่าสินค้า (Payment)
การชำระค่าสินค้านั้นสามารถ เลือกวิธีรับชำระเงินได้หลายวิธี เช่นการรับชำระผ่านบัตรเครดิต (Credit Card Online Payment) หรือ การโอนเงินผ่านทางธนาคาร(Money Tranfer) วิธีส่งเช็ค หรือเก็บเงินปลายทาง
การชำระเงินผ่านบัตรเครดิต มี 2 รูปแบบคือ

ใช้ Merchant
ส่วนตัวกับธนาคาร กรณีนิติบุคคล หรือบริษัท ท่านสามารถขอรับบริการได้จากธนาคาร ไทยพาณิชย์, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงเทพ หรือธนาคารเอเชีย ซึ่งการอนุมัติขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของทางธนาคาร โดยทั่วไปมักจะมีการเรียกเก็บค่าบริการต่อ 1 Transaction ประมาณ 3-5 %ซึ่งมีข้อดีคือ เงินจะถูกโอนเข้าบัญชีของท่านในวันรุ่งขึ้น

ใช้ Merchant
ร่วมกรณีบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล อาจเลือกใช้ระบบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต VISA,MASTER CARD ของ บริษัท โพลาร์ เว็บแอปพลิเคชั่น จำกัด โดยธนาคาร เอเชีย จำกัด (มหาชน) ได้ทันที โดยที่ท่านไม่ต้องติดต่อกับทางธนาคาร ซึ่งมีค่าใช้จ่ายปีละ 2,900 บาท และมีการเรียกเก็บค่าบริการ 4% ของยอดเงินชำระผ่านบัตรเครดิต โดยจำนวนเงินรวมของเดือนนี้ จะถูกโอนเข้าบัญชีของท่านในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป

การชำระเงินบน E-Commerce


จากผลการวิจัยพบว่า วิธีการชำระเงินที่สำคัญสำหรับกรณีธุรกิจกับธุรกิจ ร้อยละ 70 ใช้วิธีหักบัญชีธนาคาร ขณะที่ ธุรกิจกับผู้บริโภคร้อยละ 65 ชำระด้วยบัตรเครดิตสำหรับในประเทศไทย... ผลการสำรวจพบว่าผู้สั่งสินค้าบนอินเทอร์เน็ตร้อยละ 40-60 ใช้บัตรเครดิต อีกร้อยละ 40 ใช้วิธีโอนเงินในบัญชี ซึ่งหมายความรวมถึง Direct Debit, Debit Card และ Fund Transferเพื่อ... สร้างความเชื่อมั่นแก่ระบบการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต มีแนวทางการพัฒนาเพื่อบริการชำระเงินดังนี้1. บริการ internet banking และ/หรือธุรกิจประเภท Payment Gateway จะเป็น hyperlink ระหว่าง website ของร้านค้ากับระบบของธนาคาร และธนาคารสามารถดำเนินการตามข้อมูลที่ได้รับเพื่อตัดโอนเงินในบัญชีของลูกค้า หรือส่งเป็นคำสั่งโอนเข้าระบบการชำระเงินระหว่างธนาคารที่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน 2. สำหรับการชำระเงินที่เป็น Micro Payment การใช้เงินดิจิทัลซึ่งบันทึกบนบัตรสมาร์ตการ์ด หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถสร้างเสริมระบบความปลอดภัยให้มั่นใจได้เหนือกว่าระบบบัตรเดบิตและบัตรเครดิตทั่วไป จึงเป็นแนวโน้มเทคโนโลยีที่น่าสนใจและเหมาะสม

ความหมาย


Electronic Commerce
หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริหาร การโฆษณาสินค้า การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จุดเด่นของ E-Commerce คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่นอาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า (show room) คลังสินค้า พนักงานขายและพนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้นข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์คือ ระยะทางและเวลาทำการแตกต่างกัน จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป
อุปกรณ์และวิธีการทำ E-commerce
อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์และระบบฐานข้อมูล ระบบสื่อสารอาจเป็นระบบพื้นฐานทั่วไป เช่นระบบโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิทยุ โทรทัศน์ แต่ระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก เป็นระบบเปิดกว้าง โดยเป็นระบบเครือข่ายของเครือข่าย ที่เรียกว่า world wide web มาจากความเป็นเอกลักษณ์คือสามารถสร้างให้มี hyperlink จากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง ไป webpage อื่น หรือwebsite อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถสื่อได้ทั้ง
ภาพ เสียง และภาษาหนังสือที่หลากหลายซับซ้อน สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ทันทีทันใด ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถบันทึกเก็บไว้หรือนำใช้ต่อเนื่องได้ การประยุกต์ใช้ และกระแสตอบรับธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตจึงแพร่หลายภายในระยะเวลาอันสั้นE-Commerce ใช้ติดต่อกับลูกค้าได้หลายระดับ ธุรกิจกับลูกค้า ธุรกิจกับธุรกิจ ธุรกิจกับภาครัฐ ฯ สาระของการติดต่อจะมี 4-5 ประการ คือ
การขาย รวมการโฆษณา แสดงสินค้า เสนอราคา สั่งซื้อ คำนวณราคา
การชำระเงิน การตกลงวิธีชำระเงิน สั่งโอนเงิน ให้ข้อมูลบัญชีธนาคารที่ใช้ตัดบัญชี ตลอดจนเงินดิจิทัลรูปแบบใหม่ ๆ
การขนส่ง แจ้งวิธีการส่งมอบของ ค่าขนส่ง และสถานที่ติดต่อและระบบติดตามสินค้าที่ส่ง
บริการหลังการขาย การติดต่อภายในบริษัท เช่นระบบบัญชี คลังสินค้า ระบบสั่งซื้อสินค้าและวัตถุดิบ สั่งผลิต ตลอดจนบริการลูกค้าหลังการขาย